...

คลินิกพิษจากสัตว์

แนะนำคลินิก

     ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น มีสัตว์พิษชุกชุม จึงมีผู้ป่วยได้รับพิษจากสัตว์ ทั้งจากการถูกกัดต่อย และ/หรือการรับประทาน

สัตว์พิษที่สำคัญในประเทศไทย ได้แก่

1. งูพิษ แบ่งออกเป็น
- งูที่มีพิษต่อระบบประสาท ได้แก่ งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม และ งูทับสมิงคลา ผู้ป่วยที่ถูกกัดจะเป็นอัมพาต และเสียชีวิตจากการหยุดหายใจ

- งูที่มีพิษต่อระบบเลือด ได้แก่ งูแมวเซา งูกะปะ และงูเขียวหางไหม้ ผู้ป่วยที่ถูกกัดจะมีภาวะเลือดออกผิดปกติ บางรายจะมีไตวาย และ กล้ามเนื้อตาย

- งูที่มีพิษต่อกล้ามเนื้อ ได้แก่ งูทะเล

2. ผึ้ง ตัวต่อ ในรายที่รุนแรง จะมีอาการหน้าบวม ช็อก หายใจลำบาก ไตวาย น้ำท่วมปอด

3. แมงมุม แมงป่อง ตะขาบ กิ้งกือ จะมีอาการปวดบวม แดง ร้อน ในรายที่รุนแรง อาจเกิดสภาวะไตวายได้

4. สัตว์อื่น ๆ ได้แก่ - สัตว์ที่สร้างพิษ tetrodotoxin เช่น ปลาปักเป้า แมงดาถ้วย ฯลฯ ผู้ป่วยจะเป็นอัมพาต และหยุดหายใจ - สัตว์ที่สัมผัสแล้วจะมีอาการปวดบวม แดง ร้อน เช่น ปลาสิงโต บุ้ง แมลงก้นกระดก

      สถานเสาวภา สภากาชาดไทย ได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงจัดให้มีบริการ “คลินิกพิษจากสัตว์” คลินิกนี้เป็นคลินิกรักษาผู้ป่วยนอกที่ได้รับพิษจากสัตว์ โดยมีบุคลากรทั้งแพทย์ และพยาบาล

เวลาเปิดให้บริการ
วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.00 น.
วันเสาร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30-12.00 น.
ปิดทำการ วันอาทิตย์


นอกจากนี้ยังมีบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย ผู้เกี่ยวข้อง บุคลากรทางการแพทย์และบุคคลทั่วไปทางโทรศัพท์ โดยโทร. 02 2520161-4 ต่อ125,130,131

      ปัจจุบันทางคลินิกยังไม่ได้รับรักษาผู้ป่วยที่มีอาการหนัก หรือผู้ป่วยที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล